นมเปรี้ยว

#

อยากผอมต้องดื่มนมเปรี้ยว จริงหรือ ?

เมื่อกล่าวถึงนมเปรี้ยว หลายคนคงนึกถึงนมขวดเล็ก รสชาติหวาน อมเปรี้ยว ดื่มได้ในทุกวัน แต่จะรู้ว่าแท้จริงแล้วนมเปรี้ยว คือ นมวัวที่นำมาเพาะเชื้อกับจุลินทรีย์ นอกจากนี้ ยังสามารถเติมวัตถุดิบอื่นๆ เพิ่มรสชาติ ให้อร่อยมากยิ่งขึ้น ในนมเปรี้ยวยังมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจำนวนมากอีกด้วย จากงานวิจัยของสหรัฐอเมริกาได้ตีพิมพ์ ผลงานทางวิชาการที่น่าสนใจว่า ผู้ที่ดื่มนมเปรี้ยวเป็นประจำมีอัตราการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายน้อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่มนมเปรี้ยว เราจึงอยากแนะนำ ทำความรู้จักประโยชน์ของนมเปรี้ยวให้เป็นที่เข้าใจมากขึ้น จากประโยคที่ว่า " อยากผอมต้องดื่มนมเปรี้ยว " ในความเป็นจริงยังไม่มีงานวิจัยมารองรับที่ว่าดื่มนมเปรี้ยวแล้วทำให้ผอม

หลายคนสงสัยเกี่ยวกับนมเปรี้ยวกัน อยากผอมต้องดื่มนมเปรี้ยว จริงหรือ ? ในความเป็นจริง ยังไม่มีงานวิจัยใด ออกมารองรับข้อเท็จจริงที่ว่า ดื่มนมเปรี้ยวทำให้ผอม แต่เมื่อมีการทดลองใช้นมเปรี้ยวกับหนูทดลองแล้ว พบว่า ระบบขับถ่ายของหนูทดลองดีขึ้น ถึงแม้ว่าในความเป็นจริง สำหรับผู้ที่ดื่มนมเปรี้ยวเป็นประจำ ความเปรี้ยวของนมจะไม่มีผลโดยตรงต่อ การลดน้ำหนัก แต่จะมีส่วนช่วยในการย่อยและขับกากอาหาร

#

ผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ควรลดอาหารจำพวกแป้งและไขมัน จะทำให้ระบบขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติแล้ว จึงเป็นที่มาประโยชน์ของนมเปรี้ยวว่า อยากผอมต้องดื่มนมเปรี้ยว นมเปรี้ยวเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย นอกจากนี้ นมเปรี้ยวยังเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหาร บางท่านไม่สามารถดื่มนมวัวได้ เนื่องจาก ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ คนเหล่านั้นต้องดื่มนมเปรี้ยวแทน เพราะ การดื่มนมเปรี้ยวจะได้โปรตีนเหมือนดื่มนมวัว แถมยังหมดปัญหาเรื่องการย่อยและขับกากอาหารภายในร่างกายอีกด้วย เพราะ จุลินทรีย์จากนมเปรี้ยวจะทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในนมนั่นเอง สรุปได้ว่า นมเปรี้ยวมีประโยชน์กับทุกเพศ ทุกวัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สามารถรับประทานได้วันละหลายๆ ขวด

นมเปรี้ยวจะให้พลังงาน 70 ก.ก.แคลอรี่ ถือว่าน้อยมาก หากเทียบกับปริมาณอาหารในแต่ละมื้อที่ร่างกายต้องการ แต่นมเปรี้ยวในปัจจุบันสามารถเติมน้ำตาลไม่ต่ำกว่า 3 ช้อนชาทุกขวด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าดื่มนมเปรี้ยววันละ 3 ขวด จะได้รับปริมาณน้ำตาลมากถึง 9 ช้อนชาต่อวัน ทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเกินความต้องการของร่างกาย จึงอาจเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานหรือโรคอ้วนได้ ดังนั้น ควรดื่มแค่วันละขวด และไม่จำเป็นต้องดื่มทุกวัน หลังจากทราบข้อมูลสรรพคุณของนมเปลี้ยวแล้ว เรามาดูในส่วนของคุณประโยชน์ของนมเปรี้ยวกันบ้างดีกว่า รับรองว่านมเปรี้ยวขวดเล็กๆ แต่ประโยชน์ไม่เล็กแน่นอน

ประโยชน์ของนมเปรี้ยว

คุณประโยชน์ของนมเปรี้ยวที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ดังนี้

1. นมเปรี้ยวช่วยแก้อาการท้องเสีย เชื่อว่าหลายคนต้องสงสัยว่านมเปรี้ยวแก้อาการท้องเสียได้อย่างไร ขณะที่ ในนมเปรี้ยวมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายชนิด และยังมีกรดที่จะช่วยปรับสมดุลในลำไส้ให้กลับมาทำงานอย่างปกติ โดยเมื่อดื่มนมเปรี้ยวเข้าไปจะทำให้อาการท้องเสียทุเลาลง และยังสามารถแก้อาการท้องเดิน รวมไปถึงช่วยเคลือบกระเพาะ และรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย

#

2. นมเปรี้ยวช่วยในระบบย่อยอาหาร ให้ระบบขับถ่ายภายในร่ายกายทำงานดีขึ้น โดยจุลินทรีย์ในนมเปรี้ยวเป็นตัวการสำคัญในการกระตุ้นการผลิตเอนไซม์ ในส่วนบริเวณตับอ่อนแลกระเพาะอาหาร จะช่วยในเรื่องของการย่อย และยังทำให้ลำไส้ใหญ่ขับกากอาหารออกมาได้ดีขึ้น จึงกล่าวได้ว่า นมเปรี้ยวเป็นนมที่เหมาะกับคนธาตุหนักหรือคนที่มีอาการท้องผูก

3. นมเปรี้ยวช่วยสังเคราะห์วิตามินบีและวิตามินเค ซึ่งจุลินทรีย์ในนมเปรี้ยวเป็นตัวการสำคัญในการสังเคราะห์วิตามินเค จะช่วยในการแข็งตัวของเลือดเมื่อมีบาดแผลจะทำให้เลือดแข็งตัวเร็ว

4. นมเปรี้ยวสามารถสังเคราะห์วิตามินบี 1 ที่ช่วยป้องกันอาการเหน็บชาได้ดี

5. นมเปรี้ยวช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน เนื่องจากในนมเปรี้ยวมีจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส ควบคุมปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือดได้ดี

นอกจากนี้ ผลการศึกษาจากห้องทดลองในออสเตรเลีย ระบุว่า นมเปรี้ยวมีคุณสมบัติในการกระตุ้นสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย และมีส่วนช่วยในการยับยั้งแบคทีเรียในลำไส้จากการสร้างเซลล์ที่เป็นตัวการสำคัญในการก่อมะเร็งอีกด้วย

บรรณานุกรม
1. เกศรา แซกพุทรา. (2557). อายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต. กรุงเทพ. มหาวิทยาลัยสยาม
2. จิรากร ประเสริฐชีวะ. (2546). การพัฒนาโยเกิร์ตนมข้าวโพด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
3. นวลนภา อัคสินธวังกูร. (2546). การผลิตโยเกิร์ตนํ้านมข้าวโพด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
2. Coni E, Bocca A, Ianni D, Caroli S. Preliminary evaluation of the factors influencing the trace element content of milk and dairy products. Food Chem. 1995;52:123–130.
3. Muehlhoff, E., Bennett, A. & McMahon, D. Milk and dairy products in human nutrition. In Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO) 11–35 (2013).
4. Meshref AMS, Moselhy WA, Hassan NE-HY. Heavy metals and trace elements levels in milk and milk products. J. Food Meas. Charact. 2014;8:381–388.

โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ประกาศขายสินค้า