จากประกาศของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ที่ออกมาเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าแต่จะให้มีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม พ.ศ.2567 โดยจะมีข้อบังคับเกี่ยวกับการระบุผู้ขับขี่, เงื่อนไขการประกันแบตเตอรี่ และข้อห้ามการดัดแปลงรถยนต์ ซึ่งเป็น 3 ปรเด็นหลักๆ ที่น่าจะตรงกับการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถEV ที่มียอดขายเติบโตอย่างก้าวกระโดด (สังเกตได้จากยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในงานโชว์รถที่ผ่านมา)
ซึ่งข้อมูลจาก กรมการขนส่งทางบก ที่ได้เผยยอดการจดทะเบียนรถยยนต์ไฟฟ้า ประจำปีงบประมาณ 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 73,341 คัน ซึ่งเป็นสถิติการจดทะเบียนรถพลังงานไฟฟ้า ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2565 – 30 ก.ย. 2566 เมื่อเทียบกับจำนวนการจดทะเบียนฯในปีงบประมาณ 2565 ที่มีจำนวนทั้งสิ้น 14,696 คัน โดยมีอัตราการจดทะเบียนฯ เพิ่มขึ้นจำนวน 58,645 คัน คิดเป็น 399.05%
ส่วนหลักเกณฑ์ใหม่สำหรับประกันรถยนต์ไฟฟ้า เราจะมาดูกันที่เรื่องแรก นั่นก็คือการระบุผู้ขับขี่ โดยในปี 2567 รถยนต์ไฟฟ้าที่จะทำประกันภัยทุกคันจะต้อง ระบุชื่อผู้ขับขี่ โดยสามารถระบุได้สูงสุด 5 คน และจะมีการเก็บประวัติการขับขี่ของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ หากผู้ขับไม่เคยมีประวัติการชน, จะได้รับส่วนลดสูงสุด 40%. และ ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิด จะไม่ได้รับส่วนลดหรือถูกลดลำดับขั้นของส่วนลดที่เคยได้รับ ตามหลักเกณฑ์นึ้ ผู้ที่จะย้ายประกันเพื่อล้างประวัติการเคลม ก็จะทำไมได้อีก เพราะบรฺษัทประกันจะมีประวัติการชนตามชื่อผู้ขับไปทุกบริษัทประกัน
ปัจจุบันนี้ ผู้ผลิตหรือค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจะมีการรับประกันแบตเตอรี่อยู่ที่ประมาณ 8 ปี จึงได้นำมาเป็นหลักในการคิดค่าเสื่อมของอายุแบตเตอรี่ตามอายุการใช้งาน ตามหลักการประกันภัยจะเป็นการชดใช้ความเสียหายตามมูลค่า ณ การเกิดเหตุ และในกรณีที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่จะต้องแจ้งบริษัทประกันเพื่อปรับทุนประกันให้ครอบคลุม นอกจากนี้, ยังสามารถซื้อประกันเพิ่มเติมเพื่อให้คุ้มครองแบตเตอรี่ได้ด้วย
ประกันภัยจะไม่คุ้มครองรถยนต์ไฟฟ้าที่ทำการดัดแปลงโดยไม่ได้มีการรับรอง หรือหากพบการดัดแปลงแบตเตอรี่โดยช่างหรืออู่ที่ไม่ได้รับการรับรอง รวมถึงการดัดแปลง software ของตัวรถยนต์ไฟฟ้าแล้วเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุบริษัทประกันก็มีสิทะฺที่จะไม่ให้ความคุ้มครองได้ด้วยเช่นกัน
คาดการณ์ว่าจะสรุปและมีผลบังคับใช้กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ หรือรถยนต์ไฟฟ้าเก่าที่มีการต่ออายุ ที่จะมีกติกาแตกต่างไปจากเดิม นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังมีมาตรการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 หรือ มาตรการ EV 3.5 ที่จะมีผลตั้งแต่ปี 2567 - 2570 เพื่อส่งเสริมให้ยานยนต์ไฟฟ้าเติบโตต่อเนื่องทั้ง รถยนต์ไฟฟ้า, รถกระบะไฟฟ้า, รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และให้ผู้ผลิตรถยนต์รายใหม่เข้ามาลงทุนเพิ่ม โดยการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ได้รับสิทธิ, ยกเว้นอากรขาเข้า, ลดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อให้ราคายานยนต์ไฟฟ้าลดลงใกล้เคียงกับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน เช่น
รถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท และมีขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 50 kWh รับเงินอุดหนุน 20,000-50,000 บาท/คัน
รถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท และมีขนาดแบตเตอรี่ 50 kWh ขึ้นไป รับเงินอุดหนุน 50,000-100,000 บาท/คัน
รถกระบะไฟฟ้าที่มีราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท และมีขนาดแบตเตอรี่ 50 kWh ขึ้นไป รับเงินอุดหนุน 50,000-100,000 บาท/คัน
รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาไม่เกิน 150,000 บาท และมีขนาดแบตเตอรี่ 3 kWh ขึ้นไป รับเงินอุดหนุน 5,000-10,000 บาท/คัน
แต่ถ้าเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้าแบบสำเร็จรูปจะเสียภาษีนำเข้าไม่เกิน 40% (ราคาไม่ถึง 2 ล้านบาท) ในระหว่าง 2 ปีแรก และลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% หากเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท แต่ต้องมีการลงทุนในประเทศ ซึ่งจะต้องมีการผลิตเพื่อชดเชยการนำเข้าภายในปี 2569 และจะเพิ่มอัตราส่วนเพิ่มขึ้นในปี 2570
เงื่อนไขใหม่ ประกันรถยนต์ไฟฟ้า มีผลบังคับใช้ 2567 อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.checkraka.com/car/?fuel_type=4078&quicksearch_order=306,DESC-326,ASC