ฉนวนกันเสียง: อะไรคือข้อเสียของห้องเก็บเสียง ที่ก่ออิฐ 2 ชั้นทำผนังกันเสียง

ปัญหาห้องนอนไม่เก็บเสียง ถูกเสียงดังจากภายนอกทะลุเข้ามารบกวนในห้องนั้น ถือเป็นปัญหาใหญ่ เพราะ ทำให้นอนหลับไม่สนิท ก่อให้เกิดความเครียดและกลายเป็นปัญหาสุขภาพได้ ทั้งนี้ หลาย ๆ คนเลือกที่จะทำห้องเก็บเสียงด้วยการวางแผนก่ออิฐ 2 ชั้น ให้ผนังเดิมกลายเป็นผนังกันเสียง ซึ่งจริงอยู่ที่เมื่อผนังหนาขึ้นจะกันเสียงได้ดีขึ้น แต่การก่ออิฐ 2 ชั้นเพื่อทำผนังกันเสียงนั้น มีข้อเสียที่ควรระวังและคิดให้ดีก่อนตัดสินใจ ดังต่อไปนี้
'
1.เสี่ยงทำให้ห้องแคบลงอย่างมาก

การก่ออิฐ 2 ชั้นเพื่อเสริมให้ผนังเดิมกลายเป็นผนังกันเสียง ให้สามารถกันเสียงดังทะลุเข้าออกได้ดีขึ้นนั้น เป็นแนวทางที่จะทำให้ผนังห้องเดิมหนาขึ้น โดยจะหนาขึ้นประมาณ 20 เซนติเมตร ซึ่งลองจินตนาการดูว่า ถ้าห้องของเรามีปัญหาเสียงดังทะลุเข้ามาจากทุกทิศทาง แล้วต้องก่อผนังอิฐ 2 ชั้นรอบด้าน ก็จะเหมือนห้องถูกบีบให้แคบลงจากทุกด้าน ทำให้เกิดเป็นความรู้สึกอึดอัด ไม่ปลอดโปร่งเหมือนก่อน กลายเป็นต้องสูญเสียพื้นที่ใช้สอยไปโดยไม่จำเป็น

เพราะในความเป็นจริงแล้วมีวิธีการเสริมผนังกันเสียงที่กินพื้นที่น้อยกว่า เช่น การใช้ระบบผนังเบากันเสียง ที่หลังจากเสริมแล้วผนังจะหนาขึ้นกว่าเดิมเพียงไม่ถึง 10 เซนติเมตรเท่านั้น เรียกได้ว่าบางกว่าการก่ออิฐ 2 ชั้นถึงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว


2.ใช้ระยะเวลาติดตั้งนานกินงบประมาณมาก

การก่ออิฐ 2 ชั้นเพื่อทำผนังเดิมให้กันเสียงนั้น จะเป็นการติดตั้งในระบบแบบเปียก กล่าวคือ เป็นการก่ออิฐฉาบปูน ที่ต้องเก็บรายละเอียดอย่างพิถีพิถัน ต้องรอให้ปูนแห้งแล้วเก็บงานให้เรียบร้อย ซึ่งยิ่งพื้นที่ผนังห้องใหญ่มากเท่าไร ก็จะต้องกินระยะเวลาในการติดตั้งยาวนาน ทำให้งบประมาณในการจ้างช่างติดตั้งก็ขยับสูงตามไปด้วย ทั้งนี้ หากช่างไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ ก็อาจต้องมาแก้ไขภายหลังที่ทำให้ต้องเสียเวลา เสียความเป็นส่วนตัวเพิ่มขึ้นไปอีก ทั้งนี้ ระบบผนังเบากันเสียง ถือเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์กว่า เพราะติดตั้งได้รวดเร็วกว่าระบบก่ออิฐฉาบปูน 3-5 เท่า ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าแรงในการติดตั้งไปได้พร้อมกันในคราวเดียว


3.อาจไม่ได้ช่วยกันเสียงดังได้มากอย่างที่คาดหวัง

ในการแก้ไขปัญหาเสียงดังด้วยการเสริมระบบผนังกันเสียงนั้น ตัวชี้วัดสำคัญที่ควรจะต้องทราบก่อนตัดสินใจว่าจะแก้ไขด้วยวิธีแบบใดหรือวัสดุใดดี ก็คือ "ค่าประสิทธิภาพการป้องกันเสียง" หรือ ค่า STC: Sound Transmission Class ซึ่งยิ่งระบบผนังกันเสียงมีค่า STC สูงเท่าไร ก็ยิ่งทำให้สามารถกันเสียงดังได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น


โดยผนังก่ออิฐฉาบปูนโดยทั่วไปชั้นเดียว จะมีค่า STC อยู่ที่ประมาณ 37-38 ซึ่งเมื่อก่อผนังอิฐเพิ่มขึ้นมาเป็น 2 ชั้น ค่า STC ก็จะขยับขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 50 ซึ่งถ้าเสียงดังที่เป็นปัญหานั้นมีระดับดังค่อนข้างมาก ก็อาจจะยังคงได้ยินเสียงรบกวนอยู่ ในขณะที่หากเลือกใช้เป็นผนังเบากันเสียง จะสามารถกันเสียงดังได้ดีมากกว่า เพราะมีค่า STC เริ่มต้นอยู่ที่ 53 ซึ่งหากต้องการให้กันเสียงดังได้เพิ่มมากขึ้น ก็สามารถเลือกรุ่นวัสดุอะคูสติกที่กันเสียงดังได้ดีขึ้นได้ โดยภาพรวมแล้ว ระบบผนังเบากันเสียง สามารถกันเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ด้วยระดับค่า STC ที่ 53-66


ฉนวนกันเสียง: อะไรคือข้อเสียของห้องเก็บเสียง ที่ก่ออิฐ 2 ชั้นทำผนังกันเสียง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google