บริการด้านอาหาร: อาหารฟื้นฟู “วัณโรคปอด”

บริการด้านอาหาร: อาหารฟื้นฟู “วัณโรคปอด”

การที่เราจะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้นั้น การเลือกรับประทานอาหารต่อวันให้ครบทั้ง 5 หมู่ และมีสัดส่วนความสำคัญต่อร่างกาย ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง จะต้องมีความหลากหลาย ไม่จำเจ เพราะไม่มีอาหารชนิดใดที่ให้สารอาหารครบทั้งหมด แต่จะมีสารอาหารมาก-น้อยต่างกันในแต่ละชนิด การรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่เป็นทางเลือกที่สำคัญสำหรับคนที่อยากมีสุขภาพดี โดยการรับประทานอาหารถือว่าสอดคล้องกับสุขภาพโดยตรง


ถ้าหากเรารับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรือรับประทานอาหารในปริมาณมากเกินต่อความต้องการของร่างกาย ก็อาจจะทำให้เกิดการสะสมของของสารอาหาร เนื่องจากร่างกายอาจจะขับออกไม่ทัน ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาได้ บางครั้งอาจจะเกิดโรคร้ายแรงขึ้นได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคตับ หรือโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น วัณโรคปอด ซึ่งอาการของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอดมีหลายอาการ และสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดมีน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว คือ มีอาการเบื่ออาหาร สาเหตุของการเบื่ออาการก็คือ ผลจากโรคและผลข้างเคียงจากยา ต่อมรับรสผิดปกติ มีเสมหะ ไอ เหนื่อย รวมทั้งดื่มน้ำมากเกินไปทำให้อิ่มน้ำ ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทุพโภชนาการ ร่างกายขาดสารอาหาร ส่งผลให้อาการของโรคและอาการแพ้ยารุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ดังนั้น วันนี้ทางเราจะมาแนะนำอาหารที่ช่วยฟื้นฟูวัณโรคปอด เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยได้หันมาใส่ใจในเรื่องของการรับประทานอาหารมากขึ้น


สำหรับแนวทางการรับประทานอาหารของผู้ป่วยวัณโรคปอด ในเรื่องของการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการเพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนนั้นเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจมากที่สุดดังนั้น ผู้ป่วยวัณโรคปอด ควรเลือกรับประทานอาหารในหมู่ต่างๆ โดยหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ต่างๆ นม ไข่ เต้าหู้ ช่วยให้ร่างกายได้รับโปรตีน ในการฟื้นฟูเสริมสร้างภูมิต้านทาน หมู่ที่ 2 ควรรรับประทาน ข้าว แป้ง ข้าวโพด เผือก มัน ฟักทอง น้ำตาลควรเลือกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ขัดสี เช่นข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท เพราะมีวิตามินบีสูงช่วยลดอาการชาปลายมือปลายเท้าและเพิ่มความอยากอาหาร และหมู่ที่ 3 และ 4 ก็คือ พืชผักและผลไม้ต่างๆ ควรเลือกรับประทานให้หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารต่างๆ ตลอดจนเสริมสร้างภูมิต้านทาน ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และสุดท้าย หมู่ที่ 5 น้ำมัน ไขมันจากพืชและสัตว์ ซึ่งให้พลังงานสูง สร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย ควรเลือกบริโภคน้ำมันที่มีกรดไขมันดี เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด


ถ้าผู้ป่วยมีอาการไอ และมีเสมหะ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ ของทอด ของมัน กะทิ และน้ำเย็น น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว อาหารที่มีแก๊สสูง เช่น ของดอง ถั่ว น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารที่มีกลิ่นแรง รวมไปถึงอาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หากผู้ป่วยวัณโรคปอดสามารถปฏิบัติตนโดยรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูจากโรคและมีสุขภาพแข็งแรงได้ อย่างไรก็ตาม วิตามินซี ก็ช่วยเสริมประสิทธิภาพของยาบำบัดวัณโรคโดยค้นพบว่า สารแมคโครเฟลกซ์ ที่อยู่ในขมิ้นช่วยปราบวัณโรคชนิดที่ดื้อยาลงได้ ซึ่งปกติขมิ้นก็เป็นสมุนไพรที่ใช้ปรุงอาหารของชาติต่างๆ หลายชาติ และเป็นที่ยอมรับกันว่ามีสรรพคุณต่อต้านการอักเสบ เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ และรวมทั้งต่อต้านมะเร็งด้วย

ดังนั้น เราควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะทางเราเน้นย้ำมาตลอดให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ที่สำคัญเราจะต้องดูแลตัวเองให้มากๆ ดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เราได้มีสุขภาพที่แข็งแรง อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการรับประทานอาหารก็ยังเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน  เพราะเราอยากให้ทุกคนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เพราะการไม่มีโรคถือเป็นลาภอันประเสริฐ และที่สำคัญที่สุด การใช้ชีวิตประจำวันของเรานั้น ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการที่ทำให้เรามีสุขภาพที่ดี หากเรามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอาหารการกินที่มีประโยชน์ ก็ถือว่าช่วยให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงได้ แต่ก็ควรหมั่นออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย เพื่อให้เราได้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บได้

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google