ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วย “ไตเรื้อรัง”
นอกจากอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนเช่นเดียวกันกับไตวายเฉียบพลันแล้ว ไตวายเรื้อรัง ยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ ปอดอักเสบ, เยื่อหุ้มปอดอักเสบ, ปลายประสาทอักเสบ, ภาวะต่อพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป, ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ซึ่งส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้นได้ , ภาวะกระดูกพรุน ภาวะกระดูกอ่อน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้ง่าย รวมไปถึงภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ปัสสาวะเป็นเลือด ปกติแล้วปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองเข้ม ขึ้นอยู่กับปริมาณการดื่มน้ำในขณะนั้น แต่ถ้าพบว่าปัสสาวะมีเลือดปน อาจจะเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรืออาจเกิดเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ
ปัสสาวะเป็นฟอง เกิดจากการมีโปรตีนไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งมักเป็นอาการของภาวะโรคไตเรื้อรัง
ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ ผู้ที่ไตมีความผิดปกติ เช่น โรคไต โรคไตเรื้อรัง จะไม่สามารถดูดน้ำกลับเก็บในกระเพาะปัสสาวะได้ปกติ จึงทำให้ต้องปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
มีอาการบวมของหน้าและเท้า
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ
บางคนน้ำหนักลด แต่บางคนอาจจะตัวบวม น้ำหนักขึ้นก็ได้
คลำพบก้อนเนื้อ บริเวณไต
ผิวหนังจะซีด คัน มีจ้ำเลือดขึ้นง่าย
เบื่ออาหาร คลื่นไส้
ปากขม ไม่สามารถรับรสอาหารได้
ทั้งนี้ ค่าการทำงานของไตหรือ GFR เป็นค่าที่บอกว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด โดยสามารถแบ่งโรคไตเรื้อรังออกได้เป็น 5 ระยะ
ระยะที่ 1 ค่า GFR 90 หรือมากกว่า แต่เริ่มพบโปรตีนในปัสสาวะหมายถึงไตเริ่มเสื่อม
ระยะที่ 2 ค่า GFR 60-89 ค่า GFR ลดลงเล็กน้อย เป็นระยะที่ไตเสื่อมแล้ว
ระยะที่ 3 ค่า GFR 30-59 ค่า GFR ที่ลดลงปานกลาง
ระยะที่ 4 ค่า GFR 15-29 ค่า GFR ลดลงมาก
ระยะที่ 5 ค่า GFR น้อยกว่า 15 เป็นระยะสุดท้ายหรือภาวะไตวาย
ดังนั้น ค่า GFR ยิ่งต่ำก็ยิ่งหมายถึงการที่ไตทำงานได้น้อยลงนั่นเอง
รู้หรือไม่? โรคไต ภัยร้ายที่หลายคน…ไม่ระวัง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/298