ผู้เขียน หัวข้อ: การลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากการใส่สายยางให้อาหารสายยาง  (อ่าน 32 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 367
    • ดูรายละเอียด
การลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากการใส่สายยางให้อาหารสายยาง

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าการทำกิจกรรมการพยาบาลทุกๆกิจการจะสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อน อุบัติเหตุ หรือความเสี่ยงต่างๆได้ หากเราพูดถึงการใส่สายยางให้อาหารแก่ผู้ป่วย เป็นกิจกรรมการพยาบาลที่ดูง่ายขั้นตอนไม่ยุ่งยากมากนัก แต่หัตถการการใส่สายยางให้อาหาร เป็นกิจกรรมการพยาบาลที่พบบ่อยได้ในโรงพยาบาลและมีความเสี่ยงหรือมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ เนื่องจากเป็นวิธีการใส่สายยางเข้าผ่านรู้จมูกลงสู่กระเพาะอาหาร สามารถทำให้เกิดไซนัสอักเสบ การระคายเคืองท่อบุทางเดินหายใจ หรือแม้แต่สายยางทะลุหลอดอาหาร ทางเดินหายใจอุดกั้น เป็นต้น


ความเสี่ยงทั้งหลายเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นมาตั้งแต่ขณะใส่และถอดสายยางให้อาหาร แม้จะมีความเสี่ยงเหล่านี้ไม่มากนัก แต่เมื่อพบว่าหากเกิดขึ้นแล้วมีโอกาสความรุนแรงถึงขั้นสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้ดูแลหรือพยาบาลจำเป็นจะต้องลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ จะต้องเชี่ยวชาญในวิธีการใส่ขั้นตอนความสะอาดเป็นหลักสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงลดอัตราการเจ็บป่วยอัตราการเสียชีวิต เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับแผนการรักษาของแพทย์ให้ครบถ้วน ในการเกิดความเสี่ยงในปัจจุบันจากการสายยางให้อาหารผ่านรูจมูกนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงจัดการใส่ผิดตำแหน่งแล้วทำให้เกิดอันตราย เช่น ปอดอักเสบจากการสำลักแต่เพียงอย่างเดียว


แต่การใส่สายยางให้อาหารมีโอกาสเกิดความเสี่ยงเป็นอันตรายได้ตั้งแต่ในขณะใส่และถอดสายยางได้ แม้ว่าเราจะพบว่าความเสี่ยงนั้นเกิดขึ้นค่อนข้างได้น้อย พยาบาลหรือผู้ดูแลจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยตลอดการรักษาพยาบาล เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของการใส่เสียงให้อาหารต้องการให้ผู้ป่วยได้รับอาหารน้ำและยาได้ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ หรือลดแรงดันในกระเพาะอาหารลำไส้โดยเฉพาะในรายที่มีลมในกระเพาะอาหารมาก และยังเพื่อดูดเอาสารตกค้างหรือสารผนังในกระเพาะอาหารไปตรวจ และเพื่อนสวนล้างกระเพาะอาหารในกรณีผู้ป่วยกินสารพิษเข้าไป วันนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการลดความเสี่ยงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนคนต่างแก่ผู้ป่วยที่อาจสามารถเกิดขึ้นได้


การลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการสายยางให้อาหารทางจมูกนั้น เริ่มต้นจากพิจารณา เหตุผลในการใส่ สายยางให้อาหารว่าเหมาะสมกับผู้ป่วยหรือไม่ เพื่อป้องกันผู้ป่วยได้รับความเสี่ยงที่เกินความจำเป็น เช่น การระคายเคืองเยื่อบุโพรงจมูก หรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่จะสามารถตามมาได้หลังใส่สายยางให้อาหารแล้ว ถัดมาบันทึกข้อมูลต่างๆในการทำการให้การแก่ผู้ป่วยรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการประเมินผู้ป่วยก่อนที่จะใส่สายยางให้อาหารหรือหลังให้สายยางให้อาหารแล้ว และที่สำคัญเหตุผลที่จำเป็นจะต้องใส่สายยางให้อาหารแก่ผู้ป่วย หากเกิดปัญหาขณะใส่สายยางให้อาหารเกิดเหตุการณ์ดันสายยางลงไปไม่ได้จะต้องไม่ควรพยายามดันลงไป ควรถอดสายออกมาก่อนและให้ผู้ป่วยพักหากผู้ป่วยมีอาการเจ็บก็รอให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บ จึงสามารถใส่อีกครั้งได้


เนื่องจากการฝืนการใส่สายยางให้อาหารหากมีอาการติดขัดอาจจะเข้าไปในทางกล่องเสียงสามารถเข้าปอดได้ และตรวจสอบเสมอว่าสายยางให้อาหารนั้นอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่ก่อนที่จะให้อาหาร ก่อนการให้ยา หลังพบอาการไอ อาเจียนหรือเกร็ง พบว่าพลาสเตอร์หลุดออกจากสายยางที่แปะกับจมูก หรือแม้แต่พบว่าสายยางที่ออกมาจากผู้ป่วยยาวมากกว่าปกติ และพบอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นใหม่หรือไม่สามารถอธิบายได้ หรือแม้แต่เมื่อบ่นว่าไม่สุขสบายและรู้สึกมีอาหารขย้อนขึ้นมาในปากหรือคอ สิ่งที่ควรระมัดระวังถัดมาคือไม่ให้ล้มผ่านเข้าสู่ร่างกายทางสายยางให้อาหาร เพื่อป้องกันภาวะท้องอืดท้องแน่น ควรเปลี่ยนสายยางให้อาหารอย่างน้อยทุก 1 เดือน พร้อมกับเปลี่ยนข้างรูจมูกใหม่ และควรเปลี่ยนพลาสเตอร์ที่แปะที่จมูกทุกวัน

เมื่อพยาบาลหรือผู้ดูแลนั้นตระหนักถึงความเสี่ยงและอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้ ภาวะแทรกซ้อนต่างๆก็จะเกิดขึ้นได้น้อยเนื่องจากมีการป้องกันในขั้นตอนต่างๆ ในการดูแลผู้ป่วยนั้นไม่เพียงแค่ให้ผู้ป่วยได้รับแผนการรักษาที่ครบถ้วนแต่จะต้องมีการป้องกันสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด การหมั่นตรวจสอบ มันเช็ค หรือขอดูอาการคนไข้เสมอ เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับการดูแลผู้ป่วย

 

ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทเว็บไซต์ฟรี