ระวัง “แผลกดทับ” ในผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารสายยาง ! การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง เป็นเรื่องปกติ ยิ่งถ้าเป็นผู้ป่วยที่นอนติดเตียงและไม่รู้สึกตัว การเกิดแผลกดทับยิ่งพบได้บ่อยมาก สำหรับการเกิดแผลกดทับ คือ การได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออันเกิดจากแรงกดทับที่ผิวหนังเป็นเวลานาน ยกตัวอย่างเช่นผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว นอนติดเตียงเป็นเวลานาน หรือผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง เช่น เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยแผลกดทับมักเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่หุ้มกระดูก เช่น ส้นเท้า ข้อเท้า สะโพก หรือกระดูกก้นกบ ผู้ที่ประสบปัญหาสุขภาพอันส่งผลต่อการเคลื่อนไหวหรือการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้ต้องนอนอยู่บนเตียงหรือนั่งรถเข็นตลอดเวลาเสี่ยงเกิดแผลกดทับได้ รวมไปถึงผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายและผิวหนังที่เสื่อมลงตามอายุ แผลกดทับเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่แล้วรักษาให้หายได้ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจรักษาให้หายขาดไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เสี่ยงเกิดแผลกดทับควรดูแลรักษาตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าว ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว หรือผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลจะต้องหมั่นเปลี่ยนอิริยาบถให้กับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงให้ผู้ป่วยนอนนิ่งเป็นเวลานานๆ
การเกิดแผลกดทับนั้น อาจจะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นผู้ดูแลจะต้องคอยสังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด หากสังเกตว่ามีอาการผิดปกติที่ผู้ป่วยจะเกิดแผลกดทับ ควรขยับร่างกายปรับเปลี่ยนท่าทาง เพื่อบรรเทาแรงกดทับตรงบริเวณดังกล่าว และควรปรึกษาแพทย์ทันที หากอาการไม่ดีขึ้นหรือเกิดอาการติดเชื้อ เช่น ไข้ขึ้น มีของเหลวซึมมาจากแผล มีกลิ่นผิดปกติที่แผล หรือรอยแดงมากขึ้น อาการอุ่น ๆ และอาการบวมของแผลเพิ่มขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที แผลกดทับในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง ก็สามารถเกิดขึ้นได้ ยิ่งถ้าเป็นผู้ป่วยที่นอนติดเตียง หรือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถขยับร่างกายได้ ก็จะพบได้บ่อย ผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยางโดยผ่านทางหน้าท้อง ซึ่งเป็นผู้ป่วยในกลุ่มที่ขยับร่างกายได้ไม่มาก เนื่องจากมีสายยางให้อาหารอยู่บริเวณหน้าท้อง
หากเคลื่อนไหวมาก อาจจะส่งผลให้สายยางให้อาหารเกิดการหลุดได้ แต่ถ้าหากผู้ป่วยสามารถรู้สึกตัวได้ดี ผู้ดูแลควรจะช่วยเปลี่ยนท่านั่งท่านอนให้ผู้ป่วยเป็นประจำ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ รวมไปถึงระบบการขับถ่ายและปัสสาวะ ผู้ป่วยที่ประสบภาวะกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้จะมีผิวหนังบางส่วนที่อับชื้น ซึ่งทำให้ติดเชื้อได้ง่ายส่งผลให้ผิวหนังที่อับชื้นทำให้เกิดแผลกดทับตามมาด้วย
นอกจากนี้แผลกดทับยังมีสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นได้อีกหลายอย่าง ถ้าทางในเรื่องของการโภชนาการแล้ว การที่ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรืออาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ไม่ดี ก็สามารถทำให้เกิดแผลกดทับได้เช่นกัน ทั้งนี้โภชนาการไม่ดีเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการร่างกายอาจเกิดจากภาวะขาดน้ำ ภาวะที่ร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ การกลืนลำบาก ปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหารที่ทำให้กลืนอาหารได้ยาก ปัญหาสุขภาพบางอย่าง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคบางอย่างอาจเสี่ยงเกิดแผลกดทับได้ง่าย โดยปัญหาสุขภาพที่เอื้อให้เกิดแผลกดทับนั้นประกอบด้วย เช่นเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอาจส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายด้วย ทำให้เกิดเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน ผู้ป่วยโรคนี้ประสบภาวะเลือดไปเลี้ยงที่ขาไม่ได้
เนื่องจากเกิดการอุดตันของไขมันที่หลอดเลือดแดงหัวใจวาย ผู้ที่ประสบภาวะหัวใจวายเกิดจากการที่ร่างกายสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้ไม่เพียงพอ ไตวาย ผู้ป่วยไตวายจะสูญเสียสมรรถภาพการทำงานของไต ส่งผลให้เกิดสารพิษในเลือด ซึ่งก่อให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เกิดแผลกดทับได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ดูแลผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง หรือผู้ป่วยที่ติดเตียง ต้องคอยสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ หรือการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆในผู้ป่วยด้วย