การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม เป็นการรักษาทางทันตกรรมที่ช่วยให้ผู้ที่สูญเสียฟัน ซึ่งการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมนั้น ทันตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่า ผู้เข้ารับการรักษามีความพร้อมในการรักษาหรือไม่ โดยจะประเมินจากสุขภาพเหงือกโดยรอบจุดที่จะทำการฝังรากฟันเทียม และกระดูกรองรับฟันที่จะใช้ฝังรากฟันเทียมว่ามีความพร้อมหรือไม่ โดยจะดูว่ากระดูกฟันมีความหนาแน่นพอที่จะรองรับรากฟันเทียม และแรงบดเคี้ยวได้หรือไม่
ซึ่งกระดูกรองรับฟันถือเป็นเรื่องสำคัญในการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม หากผู้เข้ารับการรักษามีกระดูกขากรรไกรที่ใช้รองรับฟันที่ไม่พร้อม หรือมีความหนาแน่นไม่พอ ทันตแพทย์จะทำการปลูกกระดูกฟัน เพื่อให้มีความพร้อมในการรักษา ซึ่งหากผู้เข้ารับการรักษามีความหนาแน่นของกระดูกฟันไม่พอ จะต้องทำการปลูกกระดูกฟันเพื่อเพิ่มความหนา เพื่อให้สามารถฝังรากฟันเทียมได้ การปลูกกระดูกนั้น จะส่งผลต่อผลการรักษาโดยตรง หากมีกระดูกฟันไม่เพียงพอ ทันตแพทย์ผู้ทำการรักษาจะไม่แนะนำให้ผู้เข้ารับการรักษาเข้ารับการฝังรากฟันเทียมทันที แต่จะแนะนำให้ผู้เข้ารับการรักษาข้ารับการปลูกกระดูกเสียก่อน
โดยการปลูกกระดูกนั้น มีกระดูกหลายชนิดที่จะนำมาทดแทนและปลูกกระดูกฟัน ยกตัวอย่างเช่น กระดูกของผู้เข้ารับการรักษาเอง ซึ่งกระดูกของผู้เข้ารับการรักษาจะสามารถเข้าได้ดีกับร่างกายของผู้เข้ารับการรักษาอยู่แล้ว ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้วการติดเชื้ออื่นๆด้วย สำหรับการปลูกกระดูกในการฝังรากฟันเทียมมีหลายวิธี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการฝัง ขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละบุคคล บางคนมีกระดูกฟันที่ไม่เพียงพอ หรือมีความหนาแน่นที่อยู่ในข้อจำกัดที่ไม่สามารถเข้ารับการฝังรากฟันเทียมได้ ก็จะใช้วิธีการปลูกกระดูกฟันเพื่อเพิ่มความหนา การปลูกกระดูกเพื่อเพิ่มความหนา คือการปลูกกระดูกด้านข้าง สามารถใช้กระดูกได้หลากหลายชนิดและมีเทคนิคย่อยๆอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีการปลูกกระดูกแบบชิ้นเพื่อเพิ่มความหนาหรือความสูง โดยการเก็บกระดูกมาเป็นชิ้น ปลูกแบบชิ้นนั่นเอง ดังนั้นหมายถึงกระดูกที่นิยมนำมาใช้ในการปลูกกระดูกชนิดนี้คือ กระดูกของผู้เข้ารับการรักษา อย่างที่บอกไปแล้วว่า กระดูกจากผู้เข้ารับการรักษาจะดีกว่ากระดูกจากที่อื่น เพราะสามารถเข้ากับเนื้อเยื่อและร่างกายของผู้เข้ารับการรักษาได้ดี โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือเกิดการติดเชื้อตามมา
สำหรับขั้นตอนการปลูกกระดูกฟัน จะขึ้นอยู่กับวิธีและชนิดของกระดูก ทันตแพทย์จะทำการเอกเรย์ดูก่อนการผ่าตัด การปลูกกระดูกพร้อมกับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมไปพร้อมกัน ในกรณีนี้ เมื่อทันตแพทย์ทำการเอ็กซเรย์และประเมินว่า คนไข้ยังพอมีกระดูกที่จะให้ยึดกับรากฟันเทียมให้แน่นแต่ยังไม่เพียงพอ ต้องมีการปลุกกระดูกเพิ่มแต่ไม่มาก อันนี้จะสามารถฝังรากเทียมพร้อมปลูกกระดูกได้เลยทันที โดยส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการรักษาจะพึงพอใจกับวิธีการรักษาแบบนี้ เพราะมีการผ่าตัดเพียงครั้งเดียว นอกจากนี้ยังใช้ระยะเวลารอเพื่อทำครอบฟันหลังจากฝังรากฟันเทียมประมาณ 3-4 เดือน ต่อมาวิธีการปลูกกระดูกก่อนแล้วค่อยฝังรากฟันเทียมอีกครั้ง ในกรณีนี้คือทันตแพทย์เห็นแล้วว่ามีกระดูกฟันน้อยมาก ไม่สามารถที่จะยึดรากฟันเทียมให้อยู่แน่นได้
หากทำการฝังรากฟันเทียมไปอาจจะหลุดได้ จึงพิจารณาการปลูกกระดูกก่อน เพื่อให้มีกระดูกพอแล้วถึงฝังรากฟันเทียมอีกรอบ ในกรณีนี้ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการผ่าตัด 2 รอบ ใช้ระยะเวลาในการปลูกกระดูกแล้ว ต้องรอไม่น้อยกว่า 6 เดือน ถึงจะเข้ารับการรักษาด้วยการฝังรากฟันเทียมได้ และต้องรออีก 3 เดือนถึงจะทำครอบฟันได้ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาที่นานพอสมควรเลย ซึ่งถือว่าการปลูกกระดูก เป็นเรื่องที่ดีต่อผู้เข้ารับการรักษา เป็นการเพิ่มอัตราความสำเร็จในการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมด้วย เพื่อให้มีผลการรักษาที่น่าพึงพอใจ และป้องกันการเกิดปัญหาที่จะตามมาในอนาคต
จัดฟันบางนา: การปลูกกระดูกฟันเพิ่มความหนา เพื่อฝังรากฟันเทียม อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.idolsmiledental.com/category/จัดฟันบางนา/