กระชายมหิดล: ข้อควรรู้กับปริมาณสารสกัดได้มาตรฐานและมีคุณภาพ


ข้อควรรู้กับปริมาณสารสกัดได้มาตรฐานและมีคุณภาพ การนำสารสกัดจากพืช สมุนไพร จากธรรมชาติต่างๆ นำมาเป็นวัตถุดิบหลักในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อเป็นอาหารเสริมให้กับผู้บริโภค โดยการคิดและคำนวณจาก สรรพคุณ และคุณสมบัติของการนำสารสกัดแต่ละชนิดมารวมผสมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับร่างกาย

ในปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจในเรื่องสุขภาพ และบริโภคผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพมากกว่าผลิตภัณฑ์เสริมเคมี ซึ่งเป็นปัจจัยในการกระตุ้นความต้องการสารสกัดจากพืช จากธรรมชาติ จากสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น

ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส ทำให้ผู้บริโภคมีความสนใจในเรื่องสุขภาพขึ้นมากจึงถือเป็นยุคแห่งทางเลือกอาหารสุขภาพ ทั้งทางตรงจากพืชผัก ผลไม้ ที่ไร้สารเคมี ปลอดสารพิษ ดีต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม และทางอ้อมอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับความนิยมมากมายในปัจจุบัน ช่วยเสริมคุณค่าสารอาหารต่างๆที่ร่างกายต้องการ

ข้อควรรู้กับปริมาณสารสกัดได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
มีข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานที่เป็นไปตามวัตถุเจือปนอาหาร
ได้รับการตรวจสอบความปลอดภัยจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้
ใส่หรือบรรจุปริมาณตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
มีอยู่จริง ใช้เป็นอาหารและยาที่สามารถบริโภคได้มาเป็นเวลานานกว่า 15 ปี
มีชื่อสารสำคัญที่ถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
ต้องมีกรรมวิธีการผลิต สารละลายที่ใช้ในกระบวนการการสกัดที่ระบุได้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
มาตรฐาน

แหล่งข้อมูลตรวจสอบสารสกัดที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
สามารถตรวจสอบรายชื่อสารสกัดในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา https://www.asianbioplex.com/fda-dosage 

ประกาศ อย. รายชื่อพืชที่ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฉบับที่ 1 ( 7 ส.ค. 2560 )
https://www.asianbioplex.com/wp-content/uploads/2018/12/600810_name.pdf

ประกาศ อย. รายชื่อพืชที่ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฉบับที่ 2 ( 22 ส.ค. 2561 )
https://www.asianbioplex.com/wp-content/uploads/2018/12/PlantName_2.pdf

ข้อกำหนดการใช้ส่วนประกอบที่สำคัญของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดกรดอะมิโน
https://www.asianbioplex.com/wp-content/uploads/2018/12/Amino%20Acids_Food_Supplement.pdf

ข้อกำหนดการใช้ส่วนประกอบที่สำคัญของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดวิตามินและแร่ธาตุ
https://www.asianbioplex.com/wp-content/uploads/2018/12/Vitamins%20%26%20Minerals.pdf

หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเติมสารอาหารในผลิตภัณฑ์อาหาร (Nutrification)
https://www.fda.moph.go.th/sites/food/Permission/4.4.1-RuleNutrification_Edit1fab49.pdf

หลักเกณฑ์การเติมส่วนประกอบต่างๆในอาหาร
https://www.fda.moph.go.th/sites/food/Permission/4.3.2-RuleAddSomething.pdf

มาตรฐานสารอาหารที่แนะนำบริโภค
อีกหนึ่งมาตรฐานที่ควรรู้เกี่ยวกับสารอาหารที่ต้องได้รับในแต่ละวัน เพื่อไม่ให้การบริโภคที่มากเกินไปและน้อยเกินไป ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes: Thai RDI) เป็นค่าอ้างอิงที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดทำขึ้น เพื่อใช้คำนวณและแสดงในฉลากโภชนาการ โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี โดยมีเกณฑ์ ดังนี้

โปรตีน ตามน้ำหนักตัว กรัม (เช่น น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีนต่อวันคือ 50 กรัม)
ไขมันทั้งหมด น้อยกว่า 65 กรัม
กรดไขมันอิ่มตัว น้อยกว่า 20 กรัม
คอเลสเตอรอล น้อยกว่า 300 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต ทั้งหมด 300 กรัม
ใยอาหาร 25 กรัม
โซเดียม น้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม


หลักเกณฑ์การเติมสารอาหารในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ปริมาณสารอาหารที่ สนง.คณะกรรมการอาหารและยาอนุญาตให้เติม https://www.fda.moph.go.th/sites/food/Permission/4.3.2-RuleAddSomething.pdf

วิตามินที่ละลายได้ในไขมัน 150% RDI
วิตามินที่ละลายได้ในน้ำ 200% RDI
เกลือแร่ทั่วไป 150% RDI
โซเดียม 100% RDI
เหล็ก , สังกะสี 120% RDI
ฟลูออไรด์ และไอโอดีน ต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของ สนง.คณะกรรมการอาหารและยา
มาตรฐานวัตถุเจือปนอาหาร


วัตถุเจือปนอาหาร หมายถึง เป็นวัตถุที่ตามปกติไม่ได้ใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การปรุงแต่ง รูป รส กลิ่นอาหาร การขนส่ง การบรรจุการเก็บรักษา ซึ่งล้วนมีผลต่อคุณภาพหรือมาตรฐาน หมายความรวมถึงวัตถุที่ไม่ได้เจือปนในอาหารเช่น วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น แต่ไม่รวมสารอาหาที่เติมเพื่อเพิ่มหรือปรับให้คงคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร เพื่อใช้เป็นประกาศฉบับหลักในการควบคุมและกำกับดูแลการใช้วัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์อาหารให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค https://www.fda.moph.go.th/sites/food/Shared%20Documents/GMP/GMPKM_4.pdf

โดยมีข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน ดังนี้

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ.2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4)
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 389) พ.ศ.2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5)
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 417) พ.ศ.2563 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 1)
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2563 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2)
เป็นเรื่องที่สำคัญอีกมาตรฐานที่ผู้บริโภคควรรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย โดยจะต้องมีการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานประเมินความปลอดภัยที่ สนง. คณะกรรมการอาหารและยาให้การยอมรับ จากประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง รายชื่อหน่วยประเมินความปลอดภัยที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้การยอมรับ ปัจจุบันมี 3 หน่วยงาน

สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม
ศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

กระชายมหิดล: ข้อควรรู้กับปริมาณสารสกัดได้มาตรฐานและมีคุณภาพ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/products/

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google