ฟันร้าว (Cracked Tooth) เกิดจากการเคี้ยวอาหารหรือการนอนกัดฟันในตอนกลางคืนรวมถึงอาการฟันร้าวธรรมชาติตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งฟันร้าวเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สูญเสียฟันมากที่สุดทั่วโลก
สาเหตุของฟันร้าว
ฟันร้าวเกิดจากหลายสาเหตุได้แก่
แรงกดดันจากการกัดฟัน
การอุดฟันที่มีขนาดใหญ่เกินไปจนทำให้ฟันร้าว
การเคี้ยวของแข็งหรือทานอาหารที่มีลักษณะแข็งเช่นน้ำแข็ง ถั่วหรือลูกอม
แรงกระแทกปากเช่นอุบัติเหตุทางรถยนต์ บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การผลัดตกหรือการชกต่อย
อุณหภูมิภายในปากเปลี่ยนแปลงเฉียบพลัน เช่น การทานอาหารร้อนเกินไปแล้ว พยายามทานน้ำแข็งเพิ่มลดอุณหภูมิภายในปาก
โดยส่วนใหญ่อาการฟันร้าวมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
อาการของฟันร้าว
อาการฟันร้าวหรือฟันร้าวทุกประเภทอาจไม่มีอาการใดเกิดขึ้น แต่เมื่อฟันร้าวเกิดขึ้น โดยทั่วไปมีอาการดังต่อไปนี้
เจ็บปวดเมื่อเคี้ยวหรือกัดอาหาร โดยเฉพาะตอนหยุดเคี้ยว
มีความอ่อนไหวต่อของร้อน เย็นหรือของหวาน
มีอาการปวดฟันที่เป็นและหายไป แต่มีอาการปวดฟันอย่างต่อเนื่องได้น้อย
มีอาการบวมรอบเหงือกที่เกิดฟันร้าว
วิธีรักษาสำหรับฟันร้าว
การรักษาขึ้นอยู่กับขนาดของฟันร้าวและตำแหน่งของฟัน รวมถึงอาการฟันร้าวขยายวงกว้างไปยังขอบเหงือกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ โดยทันตแพทย์จะแนะนำให้คุณเข้าการรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน
สำหรับวิธีการรักษาฟันด้วยวิธีนี้ ทันตแพทย์จะใช้วัสดุเรซิ่นพลาสติกอุดที่บริเวณฟันมีรอยแตกร้าว เพื่อซ่อมแซมรอยแตกร้าวของฟันเเละทำให้ฟันสามารถกลับมาทำหน้าที่ได้ตามปกติ
การครอบฟัน
โดยปกติทันตแพทย์จะใช้อุปกรณ์ครอบฟันเทียมที่ทำมาจากพอร์ซเลนหรือเซรามิก ครอบหรือคลุมบริเวณที่เกิดฟันร้าวให้พอดี
สำหรับวิธีการครอบฟัน ทันตแพทย์จะทำการปรับรูปร่างของผิวเคลือบฟันก่อนเป็นอันแรกเพื่อสร้างพื้นที่ภายในช่องปากสำหรับที่ครอบฟัน จากนั้นทำการพิมพ์รอยฟันเเละเลือกสีที่ครอบฟันที่เหมาะกับฟันของคุณ และจากนั้นจึงส่งแบบพิมพ์ฟันของคุณไปให้กับห้องปฏิบัติการทันตกรรมเพื่อทำที่ครอบฟัน
กระบวนการรักษาฟันอาจใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ โดยทันตแพทย์จะทำการอุดฟันและเคลือบฟันเพื่อรักษาฟันที่แตกร้าว
สำหรับการรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ทันตแพทย์สามารถใช้ที่ครอบฟันเซรามิกชนิดพอร์ซเลนแบบวันเดียวได้ โดยไม่ต้องรอพิมพ์ที่ครอบฟันจากห้องปฏิบัตการทันตกรรม
ฟันหน้าร้าวเป็นเส้น: ฟันร้าว (Cracked Tooth) สาเหตุ อาการและการรักษา อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://bit.ly/43cwHxV